วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนที่

     พื้นที่มหาวิทยาลัยรังสิต ช่วงเวลาปกติและช่วงที่เกิดอุทกภัย
     เหตุผลที่เลือกสถานที่นี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบสภาพภูมิประเทศของมหาวิทยาลัยรังสิตช่วงเวลาปกติ และช่วงที่เกิดอุทกภัย สิ่งที่ได้พบจากการค้นคว้า คือ พื้นที่มหาวิทยาลัยช่วงเวลาปกติ มีถนนเชื่อมโยงอยู่ทั่วมหาวิทยาลัย มีอาคารสูงตั้งอยู่เรียงราย แต่ในช่วงที่เกิดอุทกภัย พื้นที่ที่เป็นถนนก็ไม่ปรากฏให้เห็น เหลือเพียงแต่พื้นที่อาคารสงที่ อยู่เหนือระดับผิวน้ำ ข้อมูลนี้ก็ทำให้ทราบว่า พื้นที่บริเวณนี้ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พื้นที่แอ่งกะทะนั่นเอง 
     จากการศึกษา และทดลองใช้โปรแกรม พบว่าโปรแกรมศึกษาทางภูมิศาสตร์ สามารถบอกพิกัด ละติจูด ลองติจูด รวมทั้งพิกัดUTM ทำให้ง่ายต่อการหาข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนั้นยังสามารถดาวน์โหลดภาพถ่ายดาวเทียม และทำเป็นภาพ 3D ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจในภูมิศาสตร์นั้นๆมากยิ่งขึ้น โปรแกรมศึกษาภูมิศาสตร์โดยทั่วไป สามารถแก้ไขพื้นที่เบื้องต้น และเลือกดูเป็น layer ได้ ทำให้สามารถศึกษาสภาพแวดล้อมนั้นๆ แต่ละโปรแกรมจะมี user interface ที่แตกต่างกันไป โดยรวมแล้วง่ายต่อการใช้งาน แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องใช้ internet ในการเข้าถึงข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น