วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

การทดสอบความเค็ม

            การทดสอบความเค็ม ทดสอบด้วยเครื่องวัดความเค็ม ในพื้นที่วัดโพธิ์ บริเวณที่มีคนน้อยที่สุด ซึ่งได้ค่าดังนี้
สิ่งก่อสร้าง
ค่าน้ำเดิม(x10^-9deciseimen)
ค่าน้ำที่วัดได้จากการล้าง (x10^-9deciseimen)
ปูนเปลือย
0.23
0.26
ขอบปูนมีสีเคลือบ
0.23
0.24
ขอบเสา
0.23
0.24
กระจก
0.22
0.25
กระเบื้องเคลือบ
0.22
0.24
ปูนขาว
0.22
0.23
รูปปั้นยักษ์ยิ้ม
0.22
0.27
พื้น
0.22
0.25
รูปปั้นอาแปะ
0.22
0.24
รูปปั้นยักษ์โกรธ
0.22
0.28

                จากการทดสอบ ค่าความเค็มที่ได้ สามารถใช้วิเคราะห์สิ่งก่อสร้างได้ ซึ่งวิเคราะห์ได้ดังนี้
-         ค่าน้ำที่วัดได้จากการล้างมีค่ามากกว่าค่าน้ำเดิมมากๆ สามารถบอกได้ว่า สิ่งก่อสร้างนี้ อยู่ใกล้ผู้คนหรืออาจผ่านการจับต้อง หรือผ่านแดดผ่านฝนมามาก และอาจบอกได้ว่าสิ่งก่อสร้างนี้สร้างมานานแล้ว
-         ค่าน้ำที่วัดได้จากการล้างมีค่ามากกว่าค่าน้ำเดิมไม่มาก สามารถบอกได้ว่า สิ่งก่อสร้างนี้ อยู่ไกลผู้คน ไม่ค่อยผ่านการจับต้อง หรือไม่ค่อยผ่านแดดผ่านฝน และอาจบอกได้ว่าสิ่งก่อสร้างนี้เพิ่งสร้างได้ไม่นาน
*แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้างต้นอาจไม่ถูกต้องเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ปูนเปลือย กับปูนที่มีสีเคลือบ ปูนเปลือยมีความเค็มมากกว่าปูนที่มีสีเคลือบ อาจมีสาเหตุว่า น้ำสามารถซึมผ่านปูนเปลือยได้มากกว่าปูนที่เคลือบสีจึงทำให้ปูนเปลือยมีความเค็มมากกว่า



ศึกษาสิ่งก่อสร้าง
การศึกษาสิ่งก่อสร้างได้ศึกษา ศาลาทิศพระมณฑป ซึ่งได้รายละเอียดดังนี้ พระมณฑปมีความสูงถึงยอดประมาณ 30 เมตร ความกว้างและความยาวประมาณด้านละ 20 เมตร

โครงสร้าง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยคอนกรีตผสมจาก ปูนขาว ทราย และกรวด โครงสร้างมีรอยร้าวและแตกอยู่หลายส่วน แตกเห็นเหล็ก และเหล็กเป็นสนิม

ผนังก่อด้วยอิฐแดงก้อนใหญ่ ฉาบด้วยมอร์ต้า ซึ่งมอร์ต้าผสมจาก ปูนขาวและทราย ผนังมีรอยแตกอยู่หลายส่วน แตกเห็นอิฐแดง

พื้นภายนอก วางเป็นแผ่นๆ มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 75 x 100 เซนติเมตร ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กขัดมัน มีสภาพขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ

พื้นภายในปูด้วยหินอ่อน มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 30 x 60 เซนติเมตร

ประตู เป็นประตูกระจกบานอะลูมิเนียมสีชา มีสภาพใหม่

หน้าต่างและวงกบ มีขนาดประมาณ 160 x 85 เซนติเมตร ทำจากไม้เนื้อแข็ง ทาสี แต่สีหลุดลอกเป็นบางส่วน

ราวระเบียงทำจากวัสดุที่คล้ายกระเบื้องเคลือบทาสีเขียว มีขนาด 35 x 30 เซนติเมตร

นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆอีกที่อยู่บริเวณมณฑป คือ รูปปั้นสิงโต มีความกว้างประมาณ 26 เซนติเมตร สูงประมาณ 35 เซนติเมตร ปั้นด้วยหินแกรนิต

และ อ่างบัว มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 85เซนติเมตร ทำด้วยหินแกรนิต





วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

การตรวจความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยคลื่นเสียง

การตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยคลื่นเสียง (Seismic Test)
       การตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยคลื่นเสียง (Seismic test) เป็นการตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยคลื่นเสียง โดยใช้เครื่องมือเฉพาะ ทำการตรวจวัด แล้วดูผลว่า เสาเข็มแต่ละต้นมีสภาพใต้ดินเป็นอย่างไร

     อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ ประกอบด้วย
1.      ตัวรับสัญญาณ (Accelerometer)
2.      ค้อน  ( Hand Held Hammer )
3.      เครื่องเก็บบันทึกข้อมูล ( PIT Collector )

ขั้นตอนการตรวจสอบ
       เริ่มต้นด้วย การติดตั้งตัวรับสัญญาณไว้ที่หัวเสาเข็ม จากนั้นใช้ค้อนเคาะที่หัวเสาเข็มบริเวณที่ใกล้กับตัวรับสัญญาณ เพื่อทำให้เกิดคลื่นความเค้นอัดผ่านลงไปในเสาเข็ม เมื่อเกิดคลื่นความเค้นอัดผ่านลงไปในเสาเข็มแล้ว ก็จะเกิดคลื่นความเค้นดึงสะท้อนกลับมาก ตัวรับสัญญาณก็จะรับสัญญาณ แล้วส่งผ่านไปยังเครื่องบันทึกข้อมูล ถ้าหากในตัวเสาเข็มมีความบกพร่อง คลื่นเสียงก็จะส่งสัญญาณแสดงความผิดปกติในรูปของกราฟที่ผิดแปลกไป ผลการทดสอบที่ได้จะนำมาวิเคราะห์หาความบกพร่องในตัวเสาเข็ม ต่อไป
     การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธีนี้ เป็นการทดสอบทางกายภาพ เพื่อตรวจสอบความต่อเนื่องของเสาเข็มเท่านั้น ไม่ได้มีผลแสดงการรับกำลังบรรทุกของเสาเข็มแต่อย่างใด ดังนั้นจึงควรนำข้อมูลในสนามมาประกอบการวิเคราะห์เพื่อหา ความบกพร่องของเสาเข็มด้วย

       การประมวลผลการทดสอบ
       การวิเคราะห์ข้อมูลหาสภาพความต่อเนื่องของเนื้อคอนกรีตหรือความสมบูรณ์ของเสาเข็มนั้น สามารถวิเคราะห์หาได้จากกราฟคลื่นสัญญาณระหว่างความเร็วกับเวลา ซึ่งถ้าพบคลื่นสัญญาณสะท้อนกลับในรูปกราฟความเร็วที่มีค่าเพิ่มขึ้น ณ จุดใด ๆ นั้น แสดงว่าเสาเข็มมีขนาดพื้นที่หน้าตัดหรือความหนาแน่นลดลง ณ จุดนั้น แต่ถ้าพบคลื่นสัญญาณสะท้อนกลับในรูปกราฟความเร็วที่มีค่าลดลง ณ จุดนั้น แสดงว่าเสาเข็มมีขนาดพื้นที่หน้าตัดหรือความหนาแน่นเพิ่มขึ้น และถ้าไม่พบคลื่นเสียงสะท้อนกลับจนกระทั่งปลายเสาเข็ม แสดงว่าเสาเข็มมีความสมบูรณ์ จากขนาดพื้นที่หน้าตัดที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นสามารถประเมินได้คร่าว ๆ จากดัชนี แสดงความสมบูรณ์ (Integrity factor) หรือที่เรียกกันว่า BETA    ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างค่า อิมพีแดนซ์ (Z) ของพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็ม ที่พบการเปลี่ยนแปลง (Z2) เทียบกับพื้นที่หน้าตัดเสาเข็มที่สมบูรณ์ (Z1)

ตารางแสดงค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็ม

ค่า BETA
สภาพความสมบูรณ์
0.80 - 1.00
สมบูรณ์ถึงบกพร่องเล็กน้อย
0.60 - 0.80
บกพร่องเล็กน้อย
น้อยกว่า 0.60
บกพร่องมาก

หมายเหตุ
                การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธีนี้ เป็นการทดสอบทางกายภาพ เพื่อตรวจสอบความต่อเนื่องของเสาเข็มเท่านั้น ไม่ได้มีผลแสดงการรับกำลังบรรทุกของเสาเข็มแต่อย่างใด ดังนั้นจึงควรนำข้อมูลในสนามมาประกอบการวิเคราะห์เพื่อหา ความบกพร่องของเสาเข็มด้วย


      
   ที่มาของข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนที่

     พื้นที่มหาวิทยาลัยรังสิต ช่วงเวลาปกติและช่วงที่เกิดอุทกภัย
     เหตุผลที่เลือกสถานที่นี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบสภาพภูมิประเทศของมหาวิทยาลัยรังสิตช่วงเวลาปกติ และช่วงที่เกิดอุทกภัย สิ่งที่ได้พบจากการค้นคว้า คือ พื้นที่มหาวิทยาลัยช่วงเวลาปกติ มีถนนเชื่อมโยงอยู่ทั่วมหาวิทยาลัย มีอาคารสูงตั้งอยู่เรียงราย แต่ในช่วงที่เกิดอุทกภัย พื้นที่ที่เป็นถนนก็ไม่ปรากฏให้เห็น เหลือเพียงแต่พื้นที่อาคารสงที่ อยู่เหนือระดับผิวน้ำ ข้อมูลนี้ก็ทำให้ทราบว่า พื้นที่บริเวณนี้ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พื้นที่แอ่งกะทะนั่นเอง 
     จากการศึกษา และทดลองใช้โปรแกรม พบว่าโปรแกรมศึกษาทางภูมิศาสตร์ สามารถบอกพิกัด ละติจูด ลองติจูด รวมทั้งพิกัดUTM ทำให้ง่ายต่อการหาข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนั้นยังสามารถดาวน์โหลดภาพถ่ายดาวเทียม และทำเป็นภาพ 3D ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจในภูมิศาสตร์นั้นๆมากยิ่งขึ้น โปรแกรมศึกษาภูมิศาสตร์โดยทั่วไป สามารถแก้ไขพื้นที่เบื้องต้น และเลือกดูเป็น layer ได้ ทำให้สามารถศึกษาสภาพแวดล้อมนั้นๆ แต่ละโปรแกรมจะมี user interface ที่แตกต่างกันไป โดยรวมแล้วง่ายต่อการใช้งาน แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องใช้ internet ในการเข้าถึงข้อมูล